Diabetic Foot
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก    |  
 

DIABETIC FOOT

เริ่มรู้>>(pic) 2009819_52749.jpg>>(pic) 2009819_52607.jpg>>(pic) 2009819_52666.jpg>>BKA>>(pic) 2009819_52523.jpg>>...

"  Every 30 seconds a lower limb
is lost somewhere in the world
as a consequence of diabetes."
 
Copy from The  LANCET

  

Diabetic foot and wound

แผลและเท้าเบาหวาน

แค่เจาะเล็กๆ ก็ป้องกันและรักษาแผลเรื้อรัง

ของผู้ป่วยเบาหวาน

 

ก่อนเจาะ  หลังเจาะ

(Root) 2009824_60134.jpg   (Root) 2009824_60174.jpg

(Root) 2009824_59957.jpg   (Root) 2009824_60001.jpg

(Root) 2009824_60050.jpg   (Root) 2009824_60093.jpg

"care before cut"  

การป้องกันย่อมดีกว่า เพื่อให้เท้าอยู่กับเรานานๆ

 

  ปัญหาเท้าเบาหวาน

หนังหนาแห้ง แตก เป็นร่องแผล เชื้อโรคแทรกซึมง่าย

เล็บกร่อนผิดรูป เล็บขบ เกิดอักเสบติดเชื้อรา แบคทีเรีย

เท้าเย็น ปวดกระตุก ชาเท้า เลือดเดินไม่สะดวก เน่าตาย

ปลายนิ้วเท้างอหงิก ปลายนิ้วหนาแข็งเป็นแผลเรื้อรัง

หนังด้านหนา ตาปลา เกิดแผลซ้ำๆ แต่ไม่เจ็บ ยิ่งอันตราย

เท้าบวม หรือบวมๆ ยุบๆ เท้าผิดรูป พุพอง รองเท้ากัด

อักเสบ บวม แดงเจ็บหรือไม่ก็ตาม อย่าไว้ใจ อาจเน่าใน

หูด ปูดปม สะเก็ดดำด่าง จะนำพาปัญหาใหญ่ตามมา

 

การดูแลรักษา(foot care)

มองหาสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นครับ และขจัดให้น้อยลงหรือหมดไป

ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น มองหา มือลูบคลำเท้าวันละหลายครั้ง เพราะอาศัยความรู้สึกที่เท้าเองอาจจะไม่รู้สึกจากเส้นประสาทเท้าชากว่าปกติ ความรับรู้ภยันตรายจะด้อยลง

ปกป้องเท้า เหมือนสวมหมวกกันน็อกเวลาขี่จักรยานยนต์ โดยการสวมรองเท้าและถุงเท้าหนานุ่ม และตรวจสอบให้แน่ชัดว่าไม่คับ หรือหลวม โดยอาจจะจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น

เนื่องจากเท้าเบาหวานจะบวมเป็นๆ หายๆ ดังนั้นควรเลือกรองเท้าที่ปรับขนาดได้ และยืดหยุ่นพอสมควร

การดูแลเล็บไม่ให้ก่ออันตราย ควรตัดเล็บและตะไบให้พอดีไม่สั้น-ยาว จนเกินไป

รอยหนาด้าน ใช้ผ้าชุบน้ำ พรมไว้ แล้วใช้ตะไบขัดถูออก อย่าใช้ยาทาที่มีฤทธิ์กัด เพราะจะเป็นแผลลึกอักเสบ

ห้ามแช่ หรือประคบน้ำอุ่น เพราะจะไหม้เท้าโดยไม่รู้ตัว ใช้วิธีสวมถุงเท้าหนาๆ ถ้ารู้สึกเท้าเย็น

ถ้าเท้าบวม อย่าชะล้าใจ มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะชาโค้ฟุท(Charcot foot) ควรปรึกษาแพทย์ หรือ แพทย์ด้านเท้าเบาหวาน เพื่อการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาจจะเกิดความผิดปกติถาวร และแผลเรื้อรังได้ ถ้ารักษาช้า หรือรักษาไม่ตรงโรค

----------------------------

  

ส่วนเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย ยาประจำตัว ก็ต้องเข้มงวดครับ

เพื่อชะลอและลดภาวะแทรกซ้อนต่างจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ที่พบบ่อย คือ 3 ต. 2 ห.

ต.ตา =ตามัว ตาบอด

 ต.ไต=ไตวาย ไตเสื่อม

ต.ตีน= ตัดนิ้ว ตัดขา

ห.หัวสมอง=สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต

 ห.หัวใจ=หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย

ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็หมายถึงครอบคลุมตั้งแต่หัวจรดเท้า

การควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี เลิกบุหรี่ ก็จะชลอ การมาถึงของภาวะต่างๆ ไม่ให้มาถึงก่อนเวลาอันควร หรือ มาช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

---------------------------

 

รองเท้า(shoe)

ผู้ที่เป็นเบาหวาน ต้องพิถีพิถันเรื่องรองเท้าเป็นพิเศษ

รองเท้า และถุงเท้าที่ดีช่วยปกป้องเท้า ขณะเดียวกันรองเท้าก็เป็นอันตรายต่อเท้าได้ ถ้าเป็นรองเท้าที่ไม่เหมาะสม

ideal diabetic shoes=protective, fitting, soft and support shoes

-----------------------------

dry skin (ผิวหนังแห้ง) ใช้โลชั่นบำรุงผิว

nail deformity or ingrown toe nail(เล็บเสียรูป,เล็บขบ)ต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดูแลรักษาและป้องกัน

รวมทั้งเล็บติดเชื้อรา ซึ่งเป็นเหตุของการติดเชื้อในส่วนลึกๆ ได้

---------------------------

หนังหนา (callus) เป็นสัญญาณของการเกิดแผลเรื้อรัง เรียกว่าเล็กพริกขี้หนู เป็นเหตุให้ลุกลาม ถึงตัดนิ้ว ตัดขาได้

ต้องคอยฝานออกเป็นระยะ เพื่อลดโอกาสเป็นแผล

หนังหนาและมีสีผิดปกติตรงกลาง เช่น แดง ดำ หรือขาวซีดมีน้ำซึมออกมา แสดงว่าเป็นแผลแล้ว ต้องดูแลรักษาแบบแผล

----------------------------

สาเหตุของแผลเท้าเบาหวาน

(diabetic foot ulcer)

1.แผลกดทับ(neuropathic ulcer)ตามจุดปูดปมต่างๆ ทั้งที่เกิดแบบปกติ และ จากการผิดรูปของเท้า หรือกลศาสตร์ชีวภาพ(biomechanic) ของเท้าเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับเท้าชา จะสังเกตุเห็นหนังหนา เกิดจากบาดเจ็บซ้ำๆ (repeated trauma)

2.แผลขาดเลือด(ischemic ulcer) จะมีลักษณะ ผิวบาง เท้าเย็น ขนนิ้วเท้าร่วงไปหมด ขา เท้าลีบ แห้ง แผลดำ เป็นต้น และคลำชีพจรไม่ได้

3.แผลบาดเจ็บ แม้จะไม่รู้ตัว (minor trauma) หรือบาดเจ็บรุนแรงชัดเจน ก็อาจจะไม่รู้ตัว เพราะไม่เจ็บ 

4.บาดแผลจากภาวะเฉพาะโรค เช่น แผลเส้นเลือดขอด แผลจากโรคภูมิต้านทานเพี้ยน แผลจากมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

5.การติดเชื้อร่วม ไม่ว่าจะเป็นแผลชนิดใดก็มีโอกาสติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น

และมีโอกาสเกิดหลายภาวะพร้อมกันทำให้รักษายุ่งยากยิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างแผลเท้าเบาหวาน 

(pic) 2009812_74133.jpg 

1.แผลเนื้อตายติดเชื้อ

-------------------

 

(pic) 2009812_74154.jpg

2.แผลปลายนิ้วเท้า

------------------

 

(pic) 2009812_74169.jpg

3.แผลขาดเลือดอักเสบ

--------------------

 

(pic) 2009812_74184.jpg

4.แผลกดทับและขาดเลือด

--------------------------

 

(pic) 2009812_74212.jpg

5. แผลกดทับจากเท้า Charcot foot

-----------------------------------

 

(pic) 2009812_74226.jpg

6. แผลปลายนิ้วหัวแม่เท้าจากนิ้วหงิก

----------------------------------

 

(pic) 2009812_74253.jpg

7. แผลขาดเลือดลุกลามรุนแรง

---------------------------------

 

(pic) 2009812_74240.jpg

8.แผลหลังหลังผ่าตัดนิ้วกลไกชีวภาพของเท้าเปลี่ยนแปลง

----------------------------------------

 

เหตุและผล วิธีป้องกัน และการดูแลรักษา

regular checking your whole feet ต้องดู สัมผัสลูบคลำ ทุกส่วนของเท้า เล็บ ง่ามนิ้ว ส้น-ฝ่าเท้า หลังเท้า ตาตุ่ม ข้อเท้า แข้ง มีลักษณะตุ่ม ปม แผล บวม แดง ด้าน หนา แข็ง แห้ง แตก เย็น ชา ปวด เป็นต้น ล้วนเป็นสัญญาณว่าต้องดูแลรักษา ไม่ต้องรออาการเจ็บเพราะอาจจะไม่มีเลยแม้กระทั่งกระดูกแตก หรือเน่าอักเสบลุกลาม

จำเป็นต้องมีญาติช่วยประเมิน ถ้าไม่มั่นใจ

อาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าเบาหวาน,  pedicure ,foot care specialist,  diabetic shoes(รองเท้าเฉพาะคนเบาหวาน)เป็นต้น

เหตุผลเพราะว่า เบาหวาน หรือ ภาวะ น้ำตาลสูงนานๆ จะส่งผลกระทบทำให้ เส้นเลือดแข็งตีบตัน(arteropathy, artherosclerosis) และเส้นประสาทเสื่อม(peripheral neuropathy)  ประกอบกับภาวะไขมันในเลือดสูง(hypercholesteralemia) ยิ่งถ้าสูบบุหรี่(smoking)

อวัยวะส่วนไกลหัวใจคือเท้าจะเกิดภาวะขาดเลือด หรือมีไม่เพียงพอ ภาวะต่างๆ จึงแสดงออกมามากขึ้นๆ บางครั้งจะเกิดการอุดตันเฉียบพลัน(acute arterial occlussion) หรือ แผลขาดเลือด(gangrene wound) ผิวหนังเปราะบางบาดเจ็บได้ง่าย มีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะติดเชื้อจนเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หรือเบาะๆ ก็อาจต้องตัดขา เพื่อรักษาชีวิต(amputation) ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำใจลำบาก หากรักษาไม่ทันเวลา

การรักษาคือทำให้เลือดไปถึงปลายเท้าให้มากที่สุด ในปัจจุบันสามารถทำการเจาะ ถ่างเส้นเลือดขาด้วยบอลลูน(PTA) อาจจะใส่ขดลวด(stenting) ไม่ต้องผ่าตัด และการผ่าตัดบายพาส(distal bypass surgery) แม้กระทั่งการทะลวงเส้นเลือดที่อุดตัดให้เปิด จะทำวิธีใดก็มีข้อดีข้อเสีย มีข้อจำกัดและผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อนต่างกัน แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ บางครั้งก็ทำไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว บางครั้งต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน

ส่วนเรื่องปลายประสาทเสื่อม มีผลทำให้ชาเท้า(numb) มีความรู้สึกแปลกๆ เช่น ปวดจี๊ด กระตุก ตะคริว เย็นเท้า(dysesthesia) จัดอยู่ในกลุ่ม เส้นประสาทรับความรู้สึกเสื่อม(sensory neuropathy) ทำให้รู้ตัวช้ากว่าคนอื่นเวลาได้รับบาดเจ็บที่เท้า หรือรู้สึกถึงบาดเจ็บน้อยกว่าความเป็นจริง ความตระหนักใส่ใจ(awareness) ก็จะน้อยลง จะยิ่งทำให้ขาดการดูแลปกป้อง ก็จะบาดเจ็บซ้ำๆ(repeated injuries) การบาดเจ็บก็จะยิ่งกินลึกเข้าจุดอันตรายมากขึ้นๆ จนเกินจะเยียวยา

 ประเด็นต่อมาคือเส้นประสาทควบคุมเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเสื่อม(motor neuropathy) จะทำให้กล้ามเนื้อเท้าลีบอ่อนแรง  โดยเฉพาะกล้ามเนื้อของเท้าโดยตรง(intrinsic muscle atrophy) เกิดภาวะเสียสมดุลย์ของกล้ามเนื้อเท้า(loss of muscle balancing) โดยปกติกล้ามเนื้อเท้าจะมีการชักกะเย่อของด้านงอ และ เหยียด(counteraction) ผลที่ตามมาก็คือ กลศาสตร์ชีวภาพ(biomechanics) จะเสีย เกิด จุดกดทับผิดปกติ (High pressure point) และบาดเจ็บซ้ำๆ จุดเดิม หนังจะหนา(callus) หนังหนาแทนที่จะปวดก็ไม่ปวดเพราะเท้าชา การบาดเจ็บจะดำเนินต่อไปโดยปราศจากความตระหนัก จนเลยมาถึงขั้นเป็นแผลซ้ำๆ ก็ไม่เจ็บรักษาไม่รักษาก็ไม่หาย เพราะอดีตไม่ทราบว่าจะทำกะไรกับแผลนี้ดี ทำให้ชินชาไม่ใส่ใจสุดท้ายลงเอยด้วยการตัดนิ้ว ตัดเท้า(amputation)  เพราะเมื่อไหร่มีแผลไม่ว่าเล็กใหญ่สักวันต้องติดเชื้ออักเสบลุกลามลึก ผิวหนังที่ฉีกขาด เปรียบเสมือนบ้านที่ประตูชำรุดเปิดอ้าซ่า รอไม่วันใดก็วันหนึ่งขโมย(เชื้อโรค)ย่อมเข้าบ้าน เพราะยามอ่อนแอ(เม็ดเลือดขาวอ่อนแอ) อาจจะลักเล็กขโมยน้อย(ตัดนิ้ว) หรือเอาชีวิตเจ้าของบ้าน(ติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตถึงชีวิต)  ถ้ารักษาไม่ทันการณ์

ประเด็นสุดท้าย คือประสาทอัตโนมัติเสื่อม(autonomic neuropathy) ซึ่งควบคุมต่อมเหงื่อ ทำให้เหงื่อไม่มีและเกิดผิวแห้งแตก ร้าว เชื้อโรคแทรกซึมเข้าง่าย และควมคุมการหดขยายตัวของหลอดเลือดเสียไป ก็จะเกิดการไหลเวียนเลือดผิดปกติ เปรียบเสมือนรถส่งของมาถึงยังไม่ทันลำเลียงของลงจากรถ รถก็ไปชะแล้ว ไม่ได้ประโยชน์จากการมา แถมยังทิ้งของเสียไว้เบื้องหลังอีกต่างหาก ผลเสียจึงเกิดตามมา

 

เล็บผิดรูป(toe nail deformity) ผู้ป่วยเป็นเบาหวานนานๆ หรือ ผู้สูงอายุ เล็บจะเสียรูป พับงอมากผิดปกติ ส่งผลเสียทำให้เกิด เล็บขบ(ingrown toe nail) เกิดแผลอักเสบ(paronychia) ตามมา สาเเหตุร่วมที่ทำให้ปัญหาเล็กกลายเป็นปัญหาใหญ่คือ เท้าชา รับรู้การมาของบาดแผลอักเสบช้ากว่าที่ควรจะเป็น การอักเสบลุกลามข้ากระดูกและเอ็น จนเกินที่จะรักษานิ้ว อาจถึงขั้นต้องตัดนิ้ว ตัดเท้าได้ จากปัญหาง่ายๆที่ป้องกันได้

 

ติดเชื้อราที่เล็บ(tinea unchium) ง่ายกว่าคนปกติ การดูแลรักษาก็ไม่ยาก คือตัดตะไบเล็บให้พอดีเป็นประจำ ร่วมกับทายาครีมรักษาเชื้อราก็มักจะเพียงพอ ไม่ต้องกินยาและไม่เสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาจากยา ซึ่งมักจะกินนาน

 

หนังเท้าหนาแข็ง(callus) เป็นแผลระยะเริ่มต้น(pre-ulcerative lesion) เท้าชาไม่เจ็บจึงไม่ให้ความสำคัญ แต่แค่หนังหนาถือว่าต้องรักษาได้แล้ว เริ่มจากง่ายๆ ขณะอาบน้ำใช้นะไบหรือหินขัดถูให้บางอาทิตย์ละครั้ง อย่าปล่อยให้หนา สวมรองเท้าเบาหวาน รองเท้านิ่มตลอดเวลาทุครั้งที่เท้าลงเหยียบพื้น ไม่ว่าในหรือนอกบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว หรือแม้แต่ในห้องน้ำ เพื่อลดอัตราการหนาตัวของหนังเท้า ห้ามใช้กรด หรือครีมที่เป็นกรดกัด ทาหนังหนา เพราะไม่เจ็บ กรดกัดเข้าลึกเกินไปก็ไม่รู้ตัว จะอันตรายมากกว่า หนังหนาสามารถดำเนินไปเป็นแผล จนต้องตัดนิ้ว ตัดเท้าก็พบบ่อย วิธีรักษาถาวร โดยการเจาะยืดเอ็น(percutaneous tenotomy) กรณีหนังด้านหนาที่ปลายนิ้วเท้า แทบจะไม่เห็นบาดแผล ประมาณ 1 อาทิตย์ก็หาย หนังหนาก็จะหายถาวรด้วย

 

ภาวะปวดเท้า เท้าผิดรูป หรืออุ้งเท้าสูง(high arch feet) แนะนำให้เริ่มด้วยการตัดแผ่นรอง(insole) เพื่อช่วยพยุงตามความโค้งสูงของอุ้งเท้า จะช่วยลดโอกาสเกิดการแตกหักของกระดูกเท้า ซึ่งและช่วยแก้ปัญหาการปวดเท้าได้ในบางกรณี และแก้ปัญหาป้องกันหนังเท้าหนาด้วย

แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องจะทำ 

 การตรวจชีพจรของขาถึงเท้า การวัดความดันเส้นเลือดขาเทียบกับแขน(ABI) เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน การวัดสภาพเส้นเลือดแดงทางห้องปฏิบัติการแบบไม่ทำให้เกิดแผล(Non-invasive vascular lab.) การใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียง(Duplex ultrasound) การฉีดสีดูเส้นเลือดแดง(Angiogram)  การสแกนดูเส้นเลือด การวัดออกซิเจนที่ใต้ผิวหนัง และอื่นๆ ตามจำเป็นและตามความเหมาะสมในแต่ละราย

 การตรวจประสาทสัมผัสของเท้า เช่น ตรวจโมโนฟิลาเม้นท์(monofilament) เป็นต้น

 off loading

 แผลเท้าเบาหวาน ส่วนหนึ่งที่เป็นๆ หายๆ ช้ำที่เดิม เนื่องจากมีการบาดเจ็บซ้ำๆ(repeated trauma) โดยไม่รู้ตัวเพราะเท้าชา และมองไม่เห็น การเปลี่ยนแปลงของกลศาสตร์ชีวภาพของเท้า(biomechanic change) การ off loading เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อรักษาแผล

off loading หมายความว่า หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลได้รับบาดเจ็บซ้ำ หมายถึงแผลไม่ถูกพื้นเลย

ในปัจจุบันมีหลายวิธี แต่สามารถแยกเป็น 2 วิธีหลัก ดังนี้

off loading ภายนอก

เช่น ยกเท้าตลอดเวลา นอนบนเตียงจนแผลหาย ใช้ไม้เท้าชนิดต่างๆ ห้ามแผลสัมผัสพื้น วิธีนี้ค่อนข้างลำบากและมักไม่สมบูรณ์เพราะผู้ป่วยมักจะเผลอเหยียบ แม้นิดเดียวก็ทำให้การหายช้าออกไปได้ อุปกรณ์เสริม ห่อหุ้ม หรือรองรับแผล ปกป้องแผล เช่น รองเท้าต่างๆ รองเท้าเฉพาะตัว

เฝือก(total contact cast)ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบัน  แผ่นรองแผลต่างๆ  อุปกรณ์ดัดแปลงต่างๆ เพื่อบรรลุจุดประสงค์ 2 ข้อ คือ สามารถเดินได้ขณะที่แผลไม่สัมผัสพื้น มีการผ่อนแรงกดต่อแผล ทำให้แผลหายได้

 off loading ภายใน

เนื่องจาก biomechanic ของเท้าเปลี่ยนแปลง จุดกดที่เท้าจึงเปลี่ยนไปและเกิดแผลที่จุดนั้น(high pressure point) การแก้ไขให้กลับมาใกล้เคียงเดิม หรือกำจัดจุดกด ก็จะเป็นการรักษาแผลอย่างถาวร และแก้ที่เหตุที่แท้จริง มีทั้งการย้าย การยืดเอ็นกล้ามเนื้อเท้า การแต่งกระดูก การตัดกระดูก โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาใหม่ หรือไม่ให้แย่กว่าเดิม และง่ายต่อการหารองเท้า

  

-------------------------------------------------

 

เท้า (foot)

 

มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กระดูก 26 ชิ้น เรียงร้อยด้วยเอ็น เนื้อเยื่อข้อต่อรวมเป็นโครงสร้างแข็งแรง เนื้อนุ่มต่างๆ เส้นเลือดเส้นประสาท ผิวหนังโดยเฉพาะหนังฝ่าเท้าซึ่งถูกออกแบบมาอย่างพิเศษสำหรับรองรับแรงกระแทกไม่มีอะหลั่ยทดแทน และเล็บเท้า 

เอ็นฝ่าเท้า เป็นเอ็นแผ่นพยุงอุ้งเท้าให้กระดูกเท้าจัดเรียงตัวเป็นสะพานโค้ง ช่วยชับรับแรงกระแทกและน้ำหนักที่กดลงที่เท้า

 

การปวดเท้า (foot pain)

บ่งชี้ว่ามีการบาดเจ็บหรือมีความผิดปกติของกระดูก หรือ เนื้อเยื่ออ่อนของเท้าหรือบริเวณใกล้เคียง  เช่น ปวดเล็บจากเล็บขบ ปวดนิ้ว ชานิ้ว ปวด ชา รู้สึกร้อนๆฝ่าเท้า ปวดส้นเท้า ปวดอักเสบข้อ ปวดหัวแม่เท้า เป็นต้น 

สาเหตุ 

อุบัติเหตุ เช่นกระแทกโดยตรง เท้าแพลง ใช้งานมากเกินไป การเล่นกีฬา 

โรคของเท้า เช่น โครงสร้างผิดปกติ เท้าแบน(flat feet) เท้าโค้งสูงผิดปกติ(high arch feet) นิ้วผิดรูป กระดูกมีปุ่มปม ความผิดปกติของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกของบริเวณข้างเคียงเช่น โปลิโอ

การอักเสบของข้อ เอ็น เช่น เก๊าท์ 

การติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรียอักเสบมีหนอง เชื้อไวรัสเช่นหูด เชื้อรา 

รองเท้าไม่พอดี(unfitted shoes) บีบรัด คับ หลวม  ส้นสูงเกินไป ผิวสัมผัสหยาบแข็ง ขัดสีกับรองเท้า เช่น รองเท้ากัด 

เล็บขบก็มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากรองเท้าคับแน่น 

และอื่นๆ หรือมีปัญหาผสมกันหลายอย่างร่วมกัน 

 

การปวดเท้า อาจจะมีผลกระทบทำให้ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อข้างเคียง เช่น น่อง แข้ง เข่า ขา ข้อสะโพก และหลังได้เนื่องจาก พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานเท้าต็มที่ ก็จะทำให้ส่วนอื่นต้องทำงานมากขึ้นเพื่อชดเชย 

 

ตัวอย่างโรคที่ทำให้มีอาการปวดเท้า ได้แก่ 

ตาปลา (corn) หนังฝ่าเท้าหนาขึ้น มีสาเหตุจาก การขัดสีกดทับซ้ำๆของปุ่มฝ่าเท้ากับพื้น พื้นรองเท้าโดยเฉพาะพื้นแข็ง รองเท้าคับบีบเกินไปจะยิ่งเพิ่มปัญหากระดูกปูดโปนมากยิ่งขึ้นจะเจ็บมากขึ้น แก้ไขโดยการฝานหนังหนาออก ปรับรองเท้าให้นุ่ม ไม่บีบรัดเกินไป หรือ อาจจะต้องผ่าตัด ทายา หรือจี้ตาปลา แต่ต้องระมัดระวังมากๆ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

หูดที่ฝ่าท้า (plantar warts) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ผิวหนังฝ่าเท้าจะปวดเวลาเดินเหยียบก้อนหูด หากพบหูดต้องสำรวจบริเวณอื่นๆด้วย เช่น ข้างเล็บมือ เท้า หลังเท้า มือ  เพราะมักจะลุกลามและเกิดซ้ำได้ ถ้ากำจัดให้เด็ดขาดจึงจะหายขาด ขณะเดียวกันต้องติดตามสำรวจหาจุดเล็กและรีบทำลายจะเพิ่มโอกาสหายขาด แค่ทายาก็หาย ถ้าปล่อยทิ้งให้โตจะรักษายากขึ้น 

 

ปวดฝ่าเท้า (heel pain, plantar pain)

สาเหตุจาก 

-บาดเจ็บโดยตรง เช่น กระแทกเหลี่ยม เหยียบก้อนหิน  

-โครงสร้างเท้าผิดปกติ เช่นเท้าแบน แง่งกระดูก(bony spur)

-สวมรองเท้าแบนเรียบ แข็ง ไม่มีพยุงอุ้งเท้า 

-น้ำหนักมากเกินไป ยืนเดินมากเกินไป 

วินิจฉัยจากประวัติตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจจะเอ็กซ์เรย์เพื่อดูหินปูนหรือแง่งกระดูก กระดูกแตก อาจจำเป็นต้องสแกนในรายที่สงสัย 

การรักษา เริ่มจากที่ทำเองได้ เช่น stretching exercise  โดยการยืดเอ็นฝ่าเท้าทำท่านั่งยองๆ หรือ ใช้ปลายเท้าเหยียบขอบบันไดและยืดเอ็นฝ่าเท้า 

สวมรองเท้านุ่มและมีส่วนพยุงอุ้งเท้า ไม่บีบรัดจนเกินไป  พยายามหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า 

ประคบเย็น ลดการยืน เดิน 

ลดน้ำหนัก การออกกำลังกายในน้ำจะลดการบาดเจ็บที่เท้า 

ใช้ยากิน ฉีด กายภาพบำบัด กายอุปกรณ์ต่างๆ ตามความรุนแรงของอาการ 

 

เล็บขบ(Ingrown toe nail) คือ เล็บฝังเข้านื้อข้างเล็บ มีอาการปวดเป็นแผลอักเสบ 

สาเหตุ เกิดจากเล็บใหญ่ผิดปกติ โค้งมากผิดปกติ เล็บผิดรูปที่เกิดจากรองเท้าคับบีบเป็นเวลานาน เล็บเคยได้รับบาดเจ็บ 

การรักษา สวมรองเท้าพอดีไม่คับไม่หลวม การตัดเล็บอย่าให้เป็นแง่งแหลม 

หากเล็บใหญ่กว้างพยายามโกยจมูกเล็บให้อยู่ใต้เล็บ ตัดเล็บที่พ้นเนื้อใต้เล็บออกมาแล้ว หากเล็บโค้งมากผิดปกติหรือเล็บยิ่งยาวยิ่งโค้งบีบเนื้อ มักเกิดจากสวมรองเท้าคับนานๆ จะต้องตัดเล็บให้สั้นๆ 

ถ้าเล็บขบเป็นแผลอักเสบเกิดหนอง มักต้องถอดเล็บบางส่วนหรือทั้งหมด และอาจจะต้องทำลายรากเล็บส่วนที่เป็นปัญหา 

 

ปวดเท้าเบาหวาน(diabetic foot pain) 

เท้าเบาหวานมีความซับซ้อนของปัญหาที่เท้า ส่วนมากเท้าจะชาและโดยพื้นฐานจะไม่ปวดจากสาเหตุเหมือนคนปกติ ถ้าปวดมักจะเป็นจากภาวะเบาหวานรบกวนกระแสประสาททำให้เกิดความรู้สึกแปลกๆ ไปซึ่งไม่ปวดเสมอไปบางรายทั้งปวด ทั้งเย็น ทั้งชา กระตุก รู้สึกเหมือนไฟฟ้าช๊อต

  

การดูแลรักษาแผล(wound management)

ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ ความรู้มากมายเกี่ยวกับแผล ทำให้การจัดการรักษาแผลมีผลดีมากขึ้น ขณะเดียวกัน ถ้ารู้ไม่เท่าทัน ก็จะไม่เกิดความคุ้มค่าสูงสุด(cost effectiveness) หรือบางทีทำให้เข้าใจผิด สับสนว่าจะใช้อะไรจึงจะดี

คำว่า แผลเรื้อรัง(chronic wound or ulcer) เป็นเพียงอาการแสดงออก จำเป็นต้องหาสาเหตุว่าคืออะไร เช่น แผลบาดเจ็บ แผลขาดเลือด แผลติดเชื้อ  แผลกดทับ แผลหนังหนาเบาหวาน แผลมะเร็ง เป็นต้น บางครั้งมีสาเหตุร่วมหลายอย่าง ถ้าไม่หยุดที่สาเหตุ ก็ยากที่แผลจะหาย หรือถ้าหายก็จะกลับเป็นซ้ำๆ ขณะที่ต้นเหตุไม่ได้รับการแก้ไข

เปรียบเสมือน อาการไข้(fever) ไม่ใช่ให้แค่ยาลดไข้ ต้องค้นหาสาเหตุและรักษาที่เหตุ จึงจะสมบูรณ์แบบ และหายขาดได้

โดยเหตุนี้ แผลเรื้อรังส่วนใหญ่ มักจะถูกละเลย การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง(primary cause) แผลจึงยังคงเป็นอยู่ไม่หายขาด หายแล้วกลับเป็ยซ้ำ จนบางครั้งลุกลามถึงขั้นตัดนิ้ว ตัดเท้า

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการหายของแผล(wound healing process) เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ไม่ว่าอุปรณ์ เทคโนโลยีจะก้าวไปไกล ก็ยังอ้างอิงพื้นฐานอย่างเหนียวแน่น 

เปรียบเสมือน เรามีอาวุธยุทธภัณฑ์ สิบชิ้นร้อยชิ้น แต่ต้องรู้และเข้าใจว่าแต่ละชิ้นดีไม่ดีอย่างไร เหมาะกับงานไหน ไม่ใช่ควักออกมาใช้ทุกอย่างวุ่นไปหมด สุดท้ายนอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณแล้วยังรบแพ้เสียอีก

อุปกรณ์เกี่ยวกับแผลก็เช่นเดียวกัน ต้องหยิบให้ตรงจุดประสงค์ แผลแต่ละชนิด แต่ละระยะของแผลมีความแตกต่างกัน ใช้อุปกรณ์ก็แตกต่างกัน ไม่มีสูตรตายตัวตลอดไป ฉะนั้นต้องรู้พื้นฐาน และสาเหตุของแผล

 

ถึงแม้จะเห็นแค่หนังหนาหรือตาปลา

 

 (Root) 200996_29198.jpg

หนังหนา

 

 

 

ถ้าไม่มีการดูแลที่ถูกต้อง

 

(Root) 200996_29092.jpg

หนังหนามีแผลตรงกลาง

 

กลายเป็นแผลเรื้อรัง มีโอกาสติดเชื้อ

ลุกลามรุนแรงจนเสียนิ้ว เสียเท้าได้

 

(Root) 200996_29176.jpg

เล็บผิดรูปขบ

 

 

เล็บผิดรูป เล็บขบ ก็สามารถดำเนินต่อจนอักเสบลึก ลงเอยถึงการสูญเสียบางส่วนของนิ้ว หรือทั้งนิ้วได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแล รักษาป้องกันอย่างถูกต้องและทันท่วงที

 

----------------

ผู้ป่วยเบาหวานมีรอยแดงอักเสบ

เพียงเล็กน้อย แต่ข้างใต้ลุกลาม

มากกว่าที่จะคาดเดา(ดังรูป)

 

(Root) 2009921_79931.jpg  (Root) 2009921_79964.jpg (Root) 2009921_79997.jpg

ก่อนผ่าตัด    หลังผ่าตัด   ทำปะหนัง

 

 

ลำดับความสำคัญในการรักษา 

 

 

 

 

 

 

 

Dr.Taweesak Srikummoon

 


Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 22,468 Today: 2 PageView/Month: 34

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...